คำว่า carbon-neutral กับ net-zero มีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา บริษัทสตาร์ทอัพขนาดเล็กรวมถึงองค์กรระดับโลกได้รวมเอาคำศัพท์เหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อจุดประสงค์ในการสื่อสารแบรนด์เกี่ยวกับพัฒนาธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ด้วยคำและบริบทที่หลากหลายอาจทำให้ผู้รับสารเข้าใจคลาดเคลื่อน บทความนี้เราจะมาเจาะลึกความหมายของแต่ละคำ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจมีความกระตือรือร้นมากขึ้น
Carbon-neutral is the new gold
เรียกได้ว่าเสมือนเป็นยุคทองที่หลากหลายบริษัทหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ให้คำมั่นที่จะเป็น carbon-neutral, net-zero หรือ climate positive ยกตัวอย่างเช่นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Google ที่เป็นบริษัทแรกที่เน้นเรื่องลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ
คำนิยามที่ควรรู้ หากคุณต้องการพัฒนาธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
- Net-Zero emissions จะปรับสมดุลปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด (GHG) ที่ปล่อยออกมาและปริมาณที่ปล่อยออกจากชั้นบรรยากาศ
- Carbon neutral หมายความว่า CO2 ใดๆ ที่ปล่อยสู่บรรยากาศจากกิจกรรมของบริษัทจะมีความสมดุลโดยใช้และกำจัดในปริมาณที่เท่ากัน
ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ – รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาซน) ได้อธิบายและยกตัวอย่างความแตกต่างของ Carbon Neutrality กับ Net Zero ได้แบบเข้าใจง่ายผ่าน Infographic นี้
Carbon Neutrality การปล่อย(คาร์บอน) คือ การดูดกลับ(คาร์บอน) ที่ซื้อขาย Carbon Credit ได้ | Carbon Neutrality การปล่อย(คาร์บอน) คือ การดูดกลับ(คาร์บอน) ที่ซื้อขาย Carbon Credit ได้ |
---|---|
(Ref. The Secret Sauce) | (Ref. The Secret Sauce) |
ซึ่งความหมายในภาคธุรกิจหรือเอกชนในไทย อนุญาตให้เอาคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆมาหักลบได้ เช่น บริษัท A ปล่อยคาร์บอน 100 ตัน ดูดกลับคาร์บอนได้ 20 ตัน ไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการอื่นๆรวม 80 ตัน เท่ากับว่าบริษัท A ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ บางบริษัทในไทยสามารถใช้นิยาม Carbon Neutrality ได้หลากหลาย เช่น Green House Gas, Climate Neutrality, Carbon Neutral ซึ่งเป็นความหลายหลักการเดียวกันคือ ปล่อยเท่าไหร่ต้องดูดกลับเท่านั้น | ลดการปล่อยคาร์บอนเช่นกัน แต่เป็นการทำด้วยบริษัทตัวเอง 100% ไม่สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการอื่นๆ ตัวอย่างเช่น บริษัท A ปล่อยคาร์บอน 100 ตัน ต้องดูดกลับคาร์บอนให้ได้ 100 ตัน เช่นกัน ผ่านวิธีการต่างๆ ทั้งทางธรรมชาติ เช่น ปลูกป่า รวมถึงนำเทคโนโลยีด้าน Carbon Capture Storage หรือ Utilization เป็นการกำจัดคาร์บอนอีกรูปแบบหนึ่ง คือดูดก๊าซคาร์บอนแล้วปรับสภาพให้เป็นของเหลว หลังจากนั้นอัดเข้าไปสู่ชั้นบรรยากาศ ชั้นผิวดิน ชั้นใต้ดินในทะเล ซึ่งในต่างประเทศมีการเริ่มใช้กันแล้ว ปัจจุบันมีการต่อยอดหาวิธีนำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
ธุรกิจจะสามารถเริ่มต้นลดคาร์บอนได้อย่างไร?
ตามรายงานของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป แหล่งกักเก็บคาร์บอนธรรมชาติกำจัด CO2 ระหว่าง 9.5 ถึง 11 กิกะตันต่อปีซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดก๊าซคาร์บอนฯที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการกำจัดหรือลดการใช้คาร์บอนในรูปแบบต่างๆ เพื่อร่วมกันบรรเทาภาวะโลกร้อน ดังนั้นเพื่อให้กลายเป็นคาร์บอนเป็นกลาง บริษัทต่างๆจึงมีทางเลือก 2 ทาง
- ลดการปล่อยคาร์บอนลงอย่างมากให้เหลือศูนย์สุทธิ
- สร้างสมดุลการปล่อยมลพิษผ่านการชดเชยและการซื้อคาร์บอนเครดิต
เริ่มต้นวางแผน Carbon Journey เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสิ่งแวดล้อม
การที่จะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ Carbon Neutral และ Carbon Net Zero อาจต้องใช้อาศัยการพัฒนาในระยะยาวและมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการชดเชยจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการทำให้คาร์บอนเป็นกลาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าบริษัทของคุณมีความมุ่งมั่นที่จะปูทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน
โดยเริ่มจากประเมิน Carbon Footprint, ประเมินแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละ Scope ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้อย่างมาก การลดการปล่อย CO2 เป็นเทรนด์ที่ทวีปยุโรปกำลังพลักดันให้เป็นศูนย์ภายใน 30 ปี บริษัทของคุณก็สามารถเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นเพื่ออนาคตของโลกใบนี้ได้เช่นกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ https://www.gmssolar.com/ GMSsolar องค์กรให้คำปรึกษา วางแผน และร่วมพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและการลดคาร์บอนแบบครบวงจร ผ่านบริการต่างๆ ดังนี้
- Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
- Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
- Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
- Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
- Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน