ลดก๊าซเรือนกระจกด้วยภาษีคาร์บอน Carbon Tax

by GMS Solar

ภายใต้ข้อตกลงนานาชาติเกี่ยวกับภาษีคาร์บอน(Carbon Tax) ซึ่งมีกว่า 36 ประเทศทั่วโลกร่วมกันควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 3 กิกะตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtC02e) หรือประมาณ 3,000 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtC02e) ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกได้ประมาณ 5% ต่อปี 

เกณฑ์ในการเก็บภาษีคาร์บอนตามหลักสากล

กำหนดให้ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการของ “ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย” หรือ “Polluter pays principle” โดยรัฐบาลสามารถกำหนดอัตราภาษีต่อต้นคาร์บอน อยู่ระหว่าง $1-$137 ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ 

สำหรับกลุ่มผู้เสียภาษีคาร์บอน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 

  1. กลุ่มผู้เสียภาษีคาร์บอนต้นน้ำ ได้แก่ ผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล (Producer) ผู้จัดจำหน่ายเชื้อเพลิงฟอสซิล (Distributor) และผู้นำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล (Importer)
  2. กลุ่มผู้เสียภาษีคาร์บอนปลายน้ำ ได้แก่ ผู้ใช้ชื้อเพลิงฟอสซิล (User) ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บกับกลุ่มผู้เสียภาษีคาร์บอนต้นน้ำมากกว่าผู้เสียภาษีคาร์บอนปลายน้ำ เพราะการจัดการในการเก็บภาษีจะง่ายกว่าและมีต้นทุนที่น้อยกว่าอีกด้วย 

กลยุทธ์การนำภาษีคาร์บอนมาปรับใช้ด้านพลังงานในภาคอุตสาหกรรม

ประเทศสวีเดนมีการก็บภาษีจากก๊าซไนตรเจนออกไซด์ (NOx) และคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) ที่อัตรา $129.89 ต่อต้นคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องด้วยมีเป้าหมายของประเทศในการเป็น Carbon Neutral ในปีค.ศ. 2050 ซึ่งมีการนำรายได้จากการเก็บภาษีมาเป็นเงินคืนหรือส่วนลดทางภาษีให้แก่อุตสาหกรรม โดยสามารถขอส่วนลดทางภาษีได้ถึง 22% ของอัตราภาษีคาร์บอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานภาครัฐ

ประเทศสิงคโปร์ประกาศใช้มาตการภาษีคาร์บอนเมื่อปีค.ศ. 2019 สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 25,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยอัตราภาษีเริ่มต้น $4 ระหว่างค.ศ. 2019-2023 และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น $8-$11 ดอลลาร์สหรัฐภายในค.ศ. 2030 ซึ่งคาดว่าจะมีรายได้จากภาษีกว่า $760 และรายได้จากการจัดเก็บภาษีคาร์บอนจะนำไปใช้ประโยชน์ในโครงการด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานในภาคอุตสาหกรรม

ซึ่ง 3 ประเทศที่เก็บภาษีคาร์บอนสูงที่สุดในโลกคือ อุรุกวัย, สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์ โดยในสภาพยุโรปมีการแบ่งประเภทก๊าซเรือนกระจกหลากหลายชนิด เช่น CO2, HFCs, PFCs, NOx และ SF6 เพื่อควบคุมมลพิษได้อย่างครอบคลุม โดยประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่นำภาษีคาร์บอนมาใช้มักเลือกเก็บภาษีคาร์บอนกับ CO2 เพียงชนิดเดียว

แนวทางการจัดเก็บภาษีคาร์บอนเป็นอย่างไร

อัตราภาษีคาร์บอนนี้เป็นหัวใจสำคัญที่จะกำหนดว่าสังคมจะสามารถบรรลุจุดที่มีต้นทุนโดยรวมต่ำที่สุดได้หรือไม่ ?
“ในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราภาษีที่เหมาะสม คือ Marginal Abatement Cost ต้นทุนการลดการปล่อย CO2 เท่ากับ Marginal Damage Cost ต้นทุนความเสียหายของสังคม”

สำหรับมาตรการภาษีคาร์บอน ประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการโดยตรง แต่จะอยู่ในรูปแบบของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตจากรถยนต์เมื่อปีพ.ศ. 2559 และรถจักรยานยนต์เมื่อปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา โดยพิจารณาจากอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) แทนการจัดเก็บภาษีตามปริมาณความจุของกระบอกสูบ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีตาม C02 จะสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ปริมาณการปล่อย C02 ลดลง เพื่อการประหยัดพลังงานและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ รายได้จากการจัดเก็บภาษีคาร์บอนส่วนใหญ่ถูกนำเข้าไปสู่ระบบงบประมาณประเทศ

การเก็บภาษีคาร์บอนในไทยยังไม่เป็นที่แน่ชัด ซึ่งกรรมสรรพสามิตกำลังดำเนินการเพื่อนำคาร์บอนเครดิตมาใช้ในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากกระบวนการผลิตในกลุ่มอุตสาหรรมตามมาตรการ EU- CBAM ของสหภาพยุโรป

ทางออกของการทำธุรกิจร่วมกับโลกใบนี้อย่างยั่งยืน คือ การกำหนดข้อตกลงร่วมกันเพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบ วิธีการร่วมถึงชนิดก๊าซเรือนกระจกที่ต้องการลด หากทุกบริษัทร่วมปฏิบัติตามข้อตกลงที่วางไว้ก็จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนที่ส่งออกสู่ขั้นบรรยากาศเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดหรือพลังงานทางเลือกอื่นๆ ก็จะส่งผลให้ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนลดการจ่ายภาษีคาร์บอนลงได้ และสิ่งสำคัญที่เป็นสิ่งประโยชน์สูงสุดต่อทุกคนในระยะยาวคือโลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น ปลอดมลพิษ หากคุณต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการกำจัดคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศ ติดต่อ GMS Solar เพื่อใช้พลังงานจากธรรมชาติ

GMSsolar องค์กรให้คำปรึกษา วางแผน และร่วมพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและการลดคาร์บอนแบบครบวงจร ผ่านบริการต่างๆดังนี้

service-gmssolar
  1. Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
  2. Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
  3. Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
  4. Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
  5. Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน

You may also like