หลังจากการประชุม COP27 จบลงไปเมื่อวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา เป้าหมายการสร้างความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกประเทศให้ความสำคัญถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน โดยมีมาตรการต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องเข้าร่วมทั้ง NDCs, NAMA เพื่อกำหนดทิศทางและเดินหน้าแก้ไขปัญหา Climate Change อย่างเป็นรูปธรรม โดยที่ NDCs เปรียบเสมือนเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ ในขณะที่ NAMAs หมายถึงวิธีการเพื่อให้ได้ไปถึงเป้าหมายนั้นๆ
ประเทศไทยตั้งเป้าหมาย Carbon Neutality ภายในปี 2050 และจะพัฒนาสู่ Carbon Net Zero ภายในปี 2065 ทั้งนี้เป้าหมายที่ตั้งไว้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในประเทศ GMSsolar มัดรวมประเด็นสำคัญของนโยบายประเทศมาไว้ให้คุณแล้วในบทความนี้
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDCs)
Nationally Determined Contributions (NDCs) หรือ การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด เป็นกลไกสำคัญเพื่อบรรลุข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ในความพยายามกำจัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ โดยกำหนดให้แต่ละประเทศ/รัฐที่ลงนามรับรองข้อตกลงนี้
เมื่อปี 2015 จัดเตรียมรายงาน และรักษาการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดนี้อย่างต่อเนื่อง ในความพยายามของแต่ละประเทศเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ละประเทศภาคีจะต้องจัดทำรายงานส่งมอบให้เลขาธิการ United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC ทุก ๆ 5 ปี
เพื่อแสดงให้เห็นความก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นและสะท้อนให้เห็นความพยายามที่เป็นไปได้สูงสุด ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศภาคี ซึ่งเป็นผลดีในการสร้างกลไกให้เกิดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะจากประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เป็นต้น
ความตกลงปารีสได้รับรองการใช้แนวทางความร่วมมือโดยสมัครใจที่มีการใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศ (internationally transferred mitigation outcome) ในการบรรลุ NDCs โดยภาคีจะต้องดำเนินงานสอดคล้องกับคำแนะนำที่รับรองโดยที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส (The Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Paris Agreement: CMA) และได้จัดตั้งกลไกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้อำนาจและคำแนะนำของ CMA โดยแนวทางความร่วมมือ และกลไกนี้อาจรวมถึงนำไปสู่การใช้กลไกตลาดภายใต้ข้อตกลงฉบับใหม่นี้ ต่อไป
ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงในการมีส่วนร่วม (NDC) โดยจัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี 2020 ที่มีความสอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน และต่อยอดการดำเนินงานในกรอบ NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Action) และกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ในปี 2030 โดยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 30 – 40 จากกรณีปกติ (Business-as-usual) ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยภาครัฐ อาศัยการดำเนินการที่มีการส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ตามศักยภาพของมาตรการจากนโยบายภาครัฐ
โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภายหลังปี 2020 ในสาขาที่มีความพร้อม ได้แก่
- ภาคพลังงานและขนส่ง มี 9 มาตรการ จากการผลิตไฟฟ้า การใช้พลังงานในครัวเรือน อาคาร อุตสาหกรรมการผลิต และการคมนาคมขนส่ง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทน และการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ
- ภาคของเสีย มี 4 มาตรการ ครอบคลุมการจัดการขยะ น้ำเสียอุตสาหกรรมและชุมชน และกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มี 2 มาตรการ โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีสารทำความเย็น ซึ่งจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 115.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือร้อยละ 20.8 จากกรณีปกติ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2016)
มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับชาติ NAMA
Nationally Appropriate Mitigation Action (NAMA) คือ นโยบาย แผนปฏิบัติการ และโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศสมาชิกทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาได้จัดทำขึ้น และดำเนินการโดยสมัครใจโดยไม่มีการจำกัดรูปแบบของนโยบายหรือโครงการ โดยผ่านที่ประชุม COP18 โดยมีเป้าหมายให้ประเทศกำลังพัฒนาได้มีส่วนร่วมในการส่งข้อมูลการลดก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการขจัดปัญหาความยากจน ความพร้อมในเชิงนโยบาย เทคโนโลยี เงินทุน และขีดความสามารถ ดังนั้นในแต่ละประเทศจะมีการกำหนดมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา คือ การได้รับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านการการลงทุน เทคโนโลยี หรือแม้แต่การเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถ
ประเทศไทยได้เข้าร่วมมาตรการ NAMA ในการประชุม COP20 โดยระบุว่า ประเทศไทยจะลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศร้อยละ 7 – 20 ในภาคพลังงานและภาคการขนส่ง ให้ต่ำกว่าระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินงานตามปกติ (Business as Usual) ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งเป็นการแสดงให้ประชาคมโลกเห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมรับผิดชอบแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3 ประเด็นสำคัญของ COP27 กับประเทศไทย
COP27 คือเวทีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 จัดขึ้นที่เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์ ระหว่างวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2022 โดยเวที COP เป็นการประชุมภาคี (Conference of Parties) ด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ปี 1992 ที่รัฐภาคีเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกจะส่งผู้แทนมาเข้าร่วมประชุมหารือกันเป็นประจำทุกปี
เนื่องจากการประชุม COP 15 ปี 2009 ประเทศพัฒนาแล้วต่างให้คำมั่นที่จะส่งมอบเงินสนับสนุน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 3.8 ล้านล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา แต่คำมั่นสัญญาดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นจริง เงินสนับสนุนในแต่ละปีไม่เคยถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐตามที่เคยให้คำมั่นไว้ ก่อนที่จะมีความพยายามขยับขยายขอบเขตระยะเวลา จากเดิมภายในปี 2020 เปลี่ยนเป็นปี 2023 และมีความพยายามที่จะก่อตั้งตลาดคาร์บอนโลกที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รวมถึงการแสวงหามติที่ประชุมที่จะปรับลดการพึ่งพาพลังงานจากถ่านหินและหันมาพึ่งพาพลังงานสะอาด ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้
1. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยแต่ละประเทศจะต้องส่งมอบแผนการปรับลดก๊าซเรือนกระจกระดับชาติ (NDC) ที่สะท้อนความทะเยอทะยานที่จะนำพาประเทศให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เคยได้ให้คำมั่นสัญญาไว้
2. การให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้สามารถเตรียมความพร้อม และรู้วิธีรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้
3. การสนับสนุนเงินทุนให้แก่บรรดาประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถรับมือกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ได้รับการพูดคุยหารือมาอย่างยาวนานในหลายเวทีการประชุม
ทิศทาง Carbon Net Zero ในไทยจะเป็นอย่างไร
คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) มอบนโยบายสำหรับ คณะผู้แทนไทย ถึงกรอบท่าทีเจรจาในการประชุม COP 27 ระหว่างปี 2022-2023 ว่าไทยจะสนับสนุนการเจรจาเพื่อประโยชน์ร่วมกันของประชาคมโลก คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับอย่างยั่งยืน
ประเทศไทยนำเสนอแผนระยะยาว จากวันนี้ ถึงปี 2065 โดยที่ไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Carbon Net Zero) ได้ในปี 2065
ไทยตั้งเป้าสู่ Carbon Net Zero เร็วขึ้น 35 ปี
ประเทศไทยได้จัดทำและปรับปรุงเอกสารยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด NDC เพื่อยกระดับเป้าหมายของไทย ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ฉบับปรับปรุง มีสาระสำคัญคงเดิม แต่ปรับระยะเวลาเร็วขึ้น ดังนี้
- เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด เดิมปี 2030 เป็นปี 2025 (เร็วขึ้น 5 ปี)
- เป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอน เดิมปี 2065 เป็นปี 2050 (เร็วขึ้น 15 ปี)
- เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เดิมปี 2100 เป็นปี 2065 (เร็วขึ้น 35 ปี)
2. การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (2nd Updated NDC) ยังคงสาระสำคัญเช่นเดียวกับ NDC ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 แต่มีการแก้ไขเป้าหมายในระยะสั้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ฉบับปรับปรุง โดยมีการแก้ไขในประเด็นที่สำคัญ เช่น เป้าหมายก๊าซเรือนกระจกลดลง ร้อยละ 30-40 จากกรณีปกติ ภายในปี ค.ศ. 2030
“แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่มาก และไม่ได้เป็นประเทศมหาอำนาจ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.8% เป็นอันดับที่ 22 ของโลก แต่เราจะเป็นผู้นำของโลกที่เดินหน้าแก้ไขปัญหา Climate Change อย่างเป็นรูปธรรม” – คุณวราวุธ ศิลปอาชา (รมว.ทส.)
เป้าหมายของ Carbon Net Zero ภายในปี 2065 ของประเทศไทยจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนเพื่อสภาพภูมิอากาศและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หากต้องการผลักดันโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจ,โรงงาน,สถาบัน,หน่วยงานรัฐ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ GMS Solar
GMS Solar เราเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ประสบการณ์กว่า 20 ปี มีบริการครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา, รับพัฒนาโครงการ, ซื้อขายคาร์บอนเครดิต, ซื้อขายผลิตภัณฑ์พลังงานทางเลือก, ร่วมถึงขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่ Carbon Neutral และ NetZero Emission ตามเป้าหมายสากล
- Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
- Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
- Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
- Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
- Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน