เจาะลึกวิธีการประเมิน Carbon Emission ในแต่ละ Scopes สำหรับเจ้าของธุรกิจ

by Staff

เตรียมพร้อมองค์กรในยุคสังคมคาร์บอนต่ำ ธุรกิจส่วนใหญ่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า องค์กรของคุณมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสมดุลกับการจำกัดก๊าซเรือนกระจกหรือไม่? บทความนี้จะเป็นการนำเสนอ Guideline ให้องค์กรต่างๆนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานระดับสากล

สารบัญเนื้อหา

1. วิธีการประเมิน Carbon Footprint ขององค์กร

คาร์บอนฟุตพริ้นท์คืออะไร

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฏจักรชีวิต หรือจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร วัดรวมอยู่ในรูปของของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent; CO2e) 

ซึ่งก๊าซเรือนกระจก (GHG) มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (HF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์มีกี่ประเภท

  คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Organizational Carbon Footprint)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Organizational Carbon Footprint) คือปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร วัดรวมอยู่ในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

  1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Product Carbon Footprint)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Product Carbon Footprint) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังจากการใช้งาน วัดปริมาณออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

2. องค์กรของคุณมีการปล่อยคาร์บอนแบบใดบ้าง

Carbon Emission Types Scope 1
Direct Emissions
Scope 2
Indirect Emissions
Scope 3
indirect value chain emissions
ความหมาย การปล่อยโดยตรงทั้งหมด
จากกิจกรรมขององค์กรหรือภายใต้การควบคุมขององค์กร
การปล่อยก๊าซทางอ้อม
ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานที่ซื้อหรือได้มาเท่านั้น
การปล่อยมลพิษทางอ้อมอื่นๆ โดยรวมขององค์กร ทั้งภายในองค์กรและพันธมิตรทางธุรกิจมีทั้งหมด 15 รูปแบบ**
ตัวอย่าง
กิจกรรมการปล่อยก๊าซ GHG
การใช้เชื้อเพลิงภายใน
กระบวนการผลิต
การใช้พลังงานไฟฟ้า ความร้อนหรือไอน้ำที่ซื้อจากภายนอก
การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ
ตัวอย่าง
การคำนวนปริมาณก๊าซ GHG
ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ x ค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซ GHG*
(แยกตามชนิดของเชื้อเพลิง)
ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ x ค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซ GHG* 1) ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ x ค่าแฟกเตอร์การปล่อยGHG*
(แยกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง)

2) ระยะทาง x น้ำหนักบรรทุก x ค่าแฟกเตอร์การปล่อยGHG*
(แยกตามประเภทของพาหนะที่ใช้)

3) (ระยะทาง/อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง) x ค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซGHG*
(แยกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง)
*ค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก(ค่า Emission factor) สามารถอ้างอิงได้จาก อบก. หน้า31-33

**Carbon Emission Scope 3 สามารถแบ่งกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอีก 15 รูปแบบ ดังนี้

  1. Purchased goods and services : การซื้อวัตถุดิบและบริการ
  2. Capital goods : สินค้าประเภททุน หรือ เครื่องมือที่ช่วยในการผลิตสินค้า
  3. Fuel and energy related activities : กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน
  4. Upstream transportation and distribution : การขนส่งและการจัดจำหน่ายระหว่างองค์กรกับคู่ค้า
  5. Waste generated in operations : กระบวนการกำจัดกากของเสีย และการบำบัดน้ำเสีย
  6. Business travel : การเดินทางเพื่อธุรกิจ
  7. Employee commuting : การเดินทางของพนักงาน
  8. Upstream leased assets : ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต
  9. Downstream transportation and distribution : ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า
  10. Processing of sold products : การแปรรูปสินค้าที่องค์กรจำหน่าย
  11. Use of sold products : การใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย
  12. End-of-life treatment of sold products : การกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย
  13. Downstream leased assets : การปล่อยเช่าสินทรัพย์ขององค์กร
  14. Franchises : การดำเนินงานของแฟรนไชส์
  15. Investments : การดำเนินการลงทุน (รวมถึงตราสารทุนและการลงทุนในตราสารหนี้และการเงินโครงการ)

Carbon Emission ทั้ง 3 Scopes เป็นเสมือน Framework ที่ช่วยให้แต่ละองค์กรเห็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้ง Business Supply Chain ช่วยให้ระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซฯมากที่สุด แล้วจัดเรียงความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม อีกทั้งสามารถติดตามประสิทธิภาพในกระบวนการลดก๊าซฯ รวมถึงต่อยอดในการประเมิน Carbon Footprint ได้อีกด้วย

3. ISO 14064 คืออะไร ทำไมองค์กรถึงควรให้ความสำคัญ

มาตรฐาน ISO 14064 คืออะไร

ISO 14064 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางปฎิบัติเพื่อจัดการคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสามารถทวนสอบผลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

มาตรฐาน ISO 14064 ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ส่วน ดังนี้

  • ISO 14064-1 เป็นมาตรฐานว่าด้วยเรื่องหลักการและข้อกำหนดระดับองค์กร สำหรับการวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อยและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การรายงาน และการทวนสอบบัญชีรายการปลดปล่อยและการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  • ISO 14064-2 เป็นมาตรฐานว่าด้วยเรื่องข้อกำหนดและข้อแนะนำสำหรับการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก การติดตามตรวจสอบ และการรายงานกิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลดการปลอยหรือเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ ข้อกำหนดครอบคลุมถึงการวางแผนโครงการ การระบุและเลือกแหล่งกำเนิด แหล่งดูดซับ และแหล่งกักเก็บที่เหมาะสมกับโครงการ การติดตามตรวจสอบ การวัดปริมาณ การจัดทำเอกสาร การรายงานผลการดำเนินโครงการ และการจัดการคุณภาพข้อมูล
  • ISO 14064-3 เป็นมาตรฐานว่าด้วยเรื่องข้อกำหนดและข้อแนะนำสำหรับการทวนสอบและการยืนยันความถูกต้องของรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจก สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โครงการและผลิตภัณฑ์กลุ่มมาตรฐาน ISO 14060

ประโยชน์ของมาตรฐาน ISO 14064

การทวนสอบการจัดการคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร เป็นการทวนสอบวิธีการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ขององค์กรตาม ISO 14064 ช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการลดการใช้พลังงาน
  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและความคาดหวังของอุตสาหกรรม
  • ได้เห็นพื้นที่หรือส่วนงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและมีโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม
  • สร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ ให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
  • มีกรอบที่สามารถช่วยกำหนดทิศทางขององค์กรว่าต้องทำอะไร
  • เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยใบรับรองการทวนสอบที่ออกโดยองค์กรระดับสากล
    ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์ของคุณสนับสนุน

    • Climate change ช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • Sustainablility สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
    • UNSDGs สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

4. วิธีประเมินคาร์บอนตามมาตรฐาน ISO 14064

Carbon Emission ในแต่ละ scopes-gmssolar

1) การระบุแหล่งปล่อยและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก

องค์กรต้องระบุแหล่งปล่อยและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยตรงจากกิจกรรมต่างๆ ภายในขอบเขตขององค์กร และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร องค์กรควรแยกบันทึกปริมาณไฟฟ้า ความร้อน หรือไอน้ำ ที่ถูกนําเข้าจากภายนอกเพื่อใช้งานภายในองค์กร หากองค์กรทําการคํานวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ก็ควรแยกบันทึกแหล่งปล่อยและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมนั้นๆ

2) การคัดเลือกวิธีการคํานวณ

องค์กรต้องคัดเลือกและใช้วิธีการคํานวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่ทําให้ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างถูกต้อง ไม่ขัดแย้งกัน และช่วยลดความไม่แน่นอนอย่างสมเหตุสมผล โดยองค์กรสามารถเลือกวิธีการใดก็ได้แต่ต้องมีเหตุผลประกอบ และต้องแสดงคําอธิบายหากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณที่เคยใช้มาก่อน

  ตัวอย่างวิธีการคํานวณสามารถทําได้ ดังนี้

  2.1) จากการตรวจวัด

  ทําการตรวจวัดปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกโดยตรง ณ แหล่งปล่อยหรือดูดซับ

  ก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องหรือเว้นช่วงเป็นระยะ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การตรวจวัดที่ได้

  มาตรฐาน ตามวิธีการตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทําให้ได้ข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่มีความถูกต้องสูง

  2.2) จากการคํานวณ

  การหาปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการคํานวณสามารถทําได้หลายวิธี

  เช่น การสร้างโมเดล หรือการทําสมการมวลสารสมดุล หรือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ facility-specific  

  หรือการคํานวณโดยใช้ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร คูณกับค่าแฟกเตอร์การปล่อย 

  หรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และแสดงผลให้อยู่ในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(CO2 equivalent)

  2.3) จากการตรวจวัดร่วมกับการคํานวณ

  องค์กรสามารถหาปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการตรวจวัดร่วมกับ

  การคํานวณได้ตัวอย่างเช่น การนําข้อมูลปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่จัดเก็บ และข้อมูลปริมาณ

  การปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ซึ่งได้จากการตรวจวัด มาทําการคํานวณปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้โดยอาศัยสมการมวลสารสมดุล เป็นต้น

3) การคัดเลือกและเก็บข้อมูลกิจกรรมการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจก (Activity data)

หากมีการใช้ข้อมูลกิจกรรมประกอบการคํานวณ ต้องมีการคัดเลือกและเก็บข้อมูลกิจกรรมการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ขัดแย้งกับวิธีการคํานวณที่ได้เลือกไว้ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดควรได้รับการบันทึกไว้ในรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับใช้วิเคราะห์และทวนสอบได้อีกอย่างน้อย 2 ปี

4) การคัดเลือกหรือพัฒนาค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Factors) หรือค่าแฟกเตอร์การดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (GHG Removal Factors)

หากมีการใช้ข้อมูลกิจกรรมประกอบการคํานวณ องค์กรต้องคัดเลือกหรือพัฒนาค่าแฟกเตอร์การปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ที่ซึ่ง 

  • ทราบแหล่งที่มา
  • เหมาะสมใช้กับแหล่งปล่อยหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกแต่ละแหล่ง
  • เป็นค่าปัจจุบันในขณะที่ใช้คํานวณ
  • คํานึงถึงความไม่แน่นอนในการคํานวณ และนํามาใช้คํานวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
  • ไม่ขัดแย้งกับความตั้งใจในการใช้งานบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก

5) การคํานวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

เมื่อทราบกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก วิธีการคำนวณ ปริมาณก๊าซฯที่ถูกปล่อยออกมา รวมถึงมีแหล่งในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ก็สามารถนำมาจัดทำเป็น องค์ประกอบของบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย

  5.1) การคํานวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดําเนินงานต่างๆ ภายในองค์กร (carbon source) สามารถแสดงเป็นตัวอย่างแยกตามลักษณะของกิจกรรมได้ดังนี้

  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้า
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทาง และขนส่งด้วยรถประเภทต่างๆ
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางด้วยเครื่องบิน
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการใช้สารเคมี
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ปุ๋ย
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการกําจัดกากของเสีย
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งกากของเสียไปกําจัด
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการใช้ลิฟต์ภายในอาคาร
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการบําบัดน้ําเสีย
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้สารดับเพลิง

  5.2) กิจกรรมขององค์กรที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (carbon sink)  ซึ่งแบ่งเป็น

  • กิจกรรมขององค์กรโดยตรง
  • โครงการลดการปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ โดยที่องค์กรอาจซื้อปริมาณการปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกมาจากโครงการอื่นๆ หรือพัฒนาโครงการขึ้นมาเอง รวมถึงการซื้อคาร์บอนเครดิต (carbon credit)  และใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate – REC)

กระบวนการทั้ง 5 Steps จะช่วยให้องค์กรเห็นภาพรวมของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งการปล่อยออกและการกำจัดว่าอยู่ในเกณฑ์สมดุลแล้วหรือไม่ หากมีกิจกรรมใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไปก็ควรเร่งหาวิธีพิจารณาว่าควรจะปรับลดหรือหาการทดแทนวิธีการใด เพื่อให้ภาพรวมขององค์กรสามารถบรรลุ Carbon Neutrality ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้


เพียงเท่านี้ องค์กรของคุณก็สามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ดีขึ้นและลดภาวะโลกร้อน หากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมในการวางแผนหรือร่วมพัฒนาการบวนการกำจัดก๊าซเรือนกระจก สามารถติดต่อ GMSsolar ได้ เราคือเชี่ยวชาญเรื่อง Carbon Neutrality, Carbon Net Zero ผ่านบริการต่าง ๆ ดังนี้

service-gmssolar

  1. Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
  2. Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
  3. Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
  4. Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
  5. Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน

You may also like