ทำความรู้จัก 7 Types of GHG และ 3 Scopes of Carbon Emission

by Staff

ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas หรือเรียกสั้นๆว่า ก๊าซ GHG เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้อบอุ่นคงที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตถ้ามีปริมาณก๊าซที่พอเหมาะ แต่หากมีปริมาณก๊าซ GHG มากเกินไปก็จะทำให้อุณภูมิโลกสูงขึ้นนำไปสู่เกิดภาวะโลกร้อน แล้วก๊าซเรือนกระจกมีอะไรบ้าง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือไม่ ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้เลย

Greenhouse Gas (GHG) มีทั้งหมด 7 ชนิด ดังนี้

  1. Carbon dioxide(CO2) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  2. Methane(CH4) ก๊าซมีเทน 
  3. Nitrous oxide(N2O) ก๊าซไนตรัสออกไซด์  
  4. Perfluorocarbons(PFCs) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน 
  5. HydroFluoroCarbons(HFCs) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน 
  6. Nitrogen Trifluoride(NF3) ก๊าซไนโตรเจนไตร-ฟลูออไรด์
  7. Sulfur hexafluoride(SF6)  ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์

ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ สารซีเอฟซี (CFCs หรือ Chlorofluorocarbons) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม เป็นสารที่ยังไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออล

The Emerging of Greenhouse Gas

กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ กำลังเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น

  •  การเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  •  การทำการเกษตร และการปศุสัตว์ ปล่อยก๊าซมีเทน และ ไนตรัสออกไซด์ (CH4, N2O)
  •  กระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรม ปล่อยสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs) 

  ซึ่ง GMSsolar จะอธิบายรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมให้เห็นภาพยิ่งขึ้น ดังนี้

GHG_Scopes-gmssolar

Source : ClimatePartner – Scope 1, 2 and 3 emissions according to the GHG protocol.
  1. การผลิตพลังงาน การผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนโดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปริมาณมาก พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงผลิตมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกมา ก๊าซทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีอานุภาพในการห่มคลุมโลกและดักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วโลกมีประมาณ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้นที่ผลิตจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ โดยพลังงานเหล่านี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษออกสู่อากาศเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับเชื้อเพลิงฟอสซิล
  2. การผลิตสินค้า กิจกรรมในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อให้ได้พลังงานสำหรับการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก โลหะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก เสื้อผ้าและอื่นๆ การทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเช่นกัน เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตมักใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซ วัสดุบางอย่าง เช่น พลาสติก ก็ทำมาจากสารเคมีที่ได้มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดทั่วโลก 
  3. การตัดไม้ทำลายป่า ในแต่ละปี พื้นที่ป่าประมาณ 75 ล้านไร่ถูกทำลาย การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะต้นไม้ที่ถูกตัดจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มันดูดซับเอาไว้ออกมา การตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นการลดขีดความสามารถของธรรมชาติในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ออกสู่ชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่า การทำเกษตรและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 1 ใน 4
  4. การคมนาคมขนส่ง รถยนต์ รถบรรทุก เรือ และเครื่องบินส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การขนส่งจึงกลายเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานพาหนะบนท้องถนนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดเพราะเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในต้องอาศัยการเผาไหม้ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน ตามมาด้วยเรือและเครื่องบิน ปริมาณการปล่อยมลพิษของภาคการขนส่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั่วโลก และการใช้เชื้อเพลิงของภาคการขนส่งก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
  5. การผลิตอาหาร การผลิตอาหารทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารก็เช่นกัน เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและแผ้วถางที่ดินเพื่อทำการเกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ กระบวนการย่อยอาหารของวัวและแกะ การผลิตและการใช้ปุ๋ยและมูลสัตว์การใช้พลังงานสำหรับเครื่องมือทางการเกษตร และเรือประมงส่วนใหญ่ก็มักใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งหมดนี้ทำให้การผลิตอาหารเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์อาหารและการกระจายสินค้าอาหารก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน
  6. การใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์และอาคารที่พักอาศัยใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั่วโลก ตราบใดที่เรายังคงใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในการทำความร้อนและความเย็น อาคารบ้านเรือนก็จะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาลต่อไป ความต้องการใช้พลังงานในการทำความร้อนและความเย็นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นมีเครื่องปรับอากาศใช้ การใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นเพื่อแสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือนที่สูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
  7. การบริโภคที่มากเกินไป บ้านและการใช้พลังงานในบ้าน การเดินทาง สิ่งที่คุณรับประทาน และสิ่งที่คุณทิ้ง ทั้งหมดล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับการบริโภคสินค้าต่างๆ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ และพลาสติก การบริโภคภายในครัวเรือนคือแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ของโลก รูปแบบการใช้ชีวิตของเราก็มีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อโลก และประชากรที่ร่ำรวยที่สุดต้องรับผิดชอบมากที่สุด กล่าวคือ ประชากรโลกที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 1 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโลกที่ยากจนที่สุด

Type of Carbon Emission 3  Scopes

GHG Protocol เป็นมาตรฐานการทําบัญชีก๊าซเรือนกระจกสําหรับภาครัฐ และเอกชน ซึ่งพัฒนาโดย World Resource Institute (WRI) ร่วมกับ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) แบ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยตรงและทางอ้อมเป็น 3 Scopes  

  ซึ่งแนวคิดหลักที่อยู่เบื้องหลังการจัดหมวดหมู่ทั้ง 3 Scopes คือ 

  • เพื่อช่วยระบุแหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม 
  • เพื่อรับรองว่าบริษัทต่างๆที่เข้าร่วมมาตรฐานได้คำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope ใดบ้าง

ติดตามอ่านต่อ ในรายละเอียดและความแตกต่างของแต่ละ Scope กันได้เลย  [Ref ClimatePartner , TGO]

GHG-Protocol-scopes-and-emissions

Source: CIBO – Overview of GHG Protocol scopes and emissions across the value chain

Scope 1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Direct Emissions)  [ CIBO , ClimatePartner ]
  การปล่อยโดยตรงทั้งหมดจากกิจกรรมขององค์กรหรือภายใต้การควบคุมขององค์กร เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง สารทำความเย็น หม้อไอน้ำ เตาเผา การปล่อยก๊าซจากยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถตู้ รถบรรทุก เฮลิคอปเตอร์สำหรับโรงพยาบาล ครอบคลุมจนถึงกระบวนการที่ปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการทางอุตสาหกรรม และการผลิตในสถานที่ เช่น ควันโรงงาน สารเคมี 

  Scope 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่ถูกซื้อมา (Indirect Emissions)
การปล่อยก๊าซทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานที่ซื้อหรือได้มาเท่านั้น เช่น ไอน้ำไฟฟ้า ความร้อน หรือการทำความเย็น ซึ่งเกิดขึ้นนอกสถานที่และถูกใช้โดยองค์กรของคุณ ซึ่งเป็นกระบวนการปล่อยก๊าซ GHG ที่สูงถึง 1 ใน 3 ของโลก นั่นถือเป็นเหตุผลที่การประเมินและการวัดการปล่อยใน Scope 2 นำมาซึ่งโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซอย่างมีนัยสำคัญ

  Scope 3 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่อยู่เหนือการควบคุม (indirect value chain emissions)

  การปล่อยมลพิษทางอ้อมอื่นๆ ทั้งหมดจากกิจกรรมขององค์กร ซึ่งเกิดขึ้นจากแหล่งที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุม สิ่งเหล่านี้มักเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดของ Carbon Footprint  ครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซฯที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเพื่อธุรกิจ การจัดซื้อจัดจ้าง ของเสียและน้ำ “เป็นผลมาจากกิจกรรมจากสินทรัพย์ที่องค์กรไม่ได้เป็นเจ้าของหรือควบคุม แต่องค์กรมีผลกระทบทางอ้อมต่อมูลค่าของมัน” แม้ว่าการปล่อยก๊าซเหล่านี้จะอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัท แต่ก็สามารถแสดงถึงสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

ความสำคัญและตัวอย่างของ Carbon Emission ทั้ง 3 Scopes

GHG-Protocal-Relationship

Source : GHG Protocal – Relationship between 3 Scopes GHG (Page 10)

เป็นเสมือน Framework ที่ช่วยให้แต่ละองค์กรเห็นภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้ง Business Supply Chain ช่วยให้บริษัทสามารถระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซฯมากที่สุด เพื่อจัดเรียงความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม อีกทั้งสามารถติดตามประสิทธิภาพในกระบวนการลดก๊าซฯ รวมถึงการมีส่วนร่วมของพันธมิตรต่างๆขององค์กร 

ยกตัวอย่าง เช่น โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าและร่วมกับการสั่งซื้อ จะถูกเขียนรายงานก๊าซ GHG ดังนี้

  • ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากการผลิตพลังงาน ถือว่าเป็นการปล่อยก๊าซทางตรง Scope 1 
  • ไฟฟ้าที่ซื้อจากบริษัทสาธารณูปโภคถูกสร้างขึ้นนอกสถานที่ ถือว่าเป็นการปล่อยก๊าซทางอ้อม Scope 2
  • กระบวนการแรกเริ่มการแปรรูปเชื้อเพลิงจากบริษัทพันธมิตร ถือว่าเป็นการปล่อยก๊าซทางอ้อม Scope 3

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน ลองนำไปวางแผนปรับแนวทางเพื่อร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว อีกทั้งพัฒนากระบวนการผลิตให้สังคมและสิ่งแวดล้อมพัฒนาอย่างยิ่งยืนไปพร้อมกัน ฝากติดตามข้อมูลดีๆแบบนี้ ได้ที่ GMSsolar.com

บทความถัดไป พลาดไม่ได้กับประเด็นสำคัญจุดเริ่มต้นของ Carbon Neutrality Oganization เจาะลึกวิธีการประเมิน Carbon Emission ในแต่ละ Scopes สำหรับเจ้าของธุรกิจ

You may also like