รัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2030 ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเป็นอย่างมากทั้งบริษัท SMEs, Corporate, Enterprise รวมถึง Public Sectors ซึ่งกลยุทธ์ในการชดเชยการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์มีหลากหลายวิธี
GMS Solar เล็งเห็นว่าบริษัทไม่ว่าบริษัทขนาดเล็ก,ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ คงใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น การเปิดไฟ, การเปิดแอร์ ฯลฯ ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Offset) นั่นคือกลไก REC ว่าแต่กลไกนี้คืออะไร สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ติดตามได้ในบทความนี้
REC คืออะไร
REC ย่อมาจาก Renewable Energy Certificate คือกลไกการซื้อ-ขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน เพื่อใช้ยืนยันว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่น่าเชื่อถือ เช่น พลังงานน้ำ, ลม, แสงอาทิตย์ เป็นกลไกที่ช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อยืนยันที่แหล่งผลิตว่ามาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานลม, น้ำ และแสงอาทิตย์ ด้วยการรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับมอบของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยมี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการในการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนผู้ขาย REC ในประเทศไทย
REC สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้หรือไม่ ?
- โดยมีหน่วยวัด 1 REC = 1 MWh คือ ไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ที่ผลิตขึ้นจากพลังงานหมุนเวียน
การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำได้ใน Scope 2 เท่านั้น เนื่องจาก Scope 2 เป็นการปล่อยก๊าซฯจากกิจกรรมการใช้ไฟฟ้า(ที่แบบเดิมไฟฟ้าผลิตจากฟอสซิลทำลายสิ่งแวดล้อม) หากองค์กรไหนปรับเปลี่ยนมาใช้ REC ที่เป็นพลังงานไฟฟ้าสะอาด ก็สามารถนำหน่วยพลังงานนั้นมาชดเชยได้
REC ต่างจาก Carbon Credit อย่างไร ?
REC และ Carbon Credit มีความคล้ายคลึงกันอยู่ในเรื่องของ Carbon Offset คือการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นเอง แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ
Carbon Credit สามารถนำไปชดเชยการปล่อยก๊าซฯขององค์กรได้ทุก Scope ส่วน REC สามารถชดเชยการปล่อยก๊าซฯขององค์กรเฉพาะกิจกรรมที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าเท่านั้น
การซื้อขาย REC เป็นอย่างไร ?
การซื้อขายเป็น Over The Courter (OTC) คือการเจรจาราคากับผู้ขายโดยตรง ซึ่ง REC มุ่งเน้นการวัดผลที่มาและปริมาณของพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน จึงง่ายต่อการลงทุนทำ Solar Farm หรือ Solar Rooftop เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและสร้างรายได้กลับสู่องค์กร
ซึ่งหากบริษัทใดต้องการเป็นผู้ขาย REC ก็สามารถลงทุน ทำรายงานโครงการ และติดต่อขึ้นทะเบียนผ่าน GMS Solar ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมต้องการสร้างพื้นที่โซล่าเซลล์ เพื่อลด Corporate Carbon Footprints และสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ
ส่วนในมุมผู้ซื้อก็สามารถเจรจาราคากับผู้ขายได้โดยตรง หรือ ติดต่อกับ GMS Solar เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนของแต่ละหน่วยงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นทั้งปริมาณ REC หรืองบประมาณที่วางไว้
รู้จัก EAC มาตรฐานการรับรองพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน
REC ที่นำมาซื้อขายจะต้องผ่านมาตรฐานการรับรองคุณลักษณะทางพลังงาน (Energy Attribute Certificate: EAC) ซึ่งมาตรฐาน EAC สำคัญๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลในปัจจุบัน มีด้วยกัน 3 มาตรฐาน ได้แก่
- มาตรฐาน US Renewable Energy Certificate Schemes (US REC, REC) เป็นที่ยอมรับของโซนอเมริกาเหนือ
- มาตรฐาน Guarantee of Origin (GO) กลไกที่เป็นที่ยอมรับในโซนยุโรป
- มาตรฐาน National System เป็นมาตรฐานที่ประเทศนั้น ๆ พัฒนาระบบ Tracking พลังงานไฟฟ้าสะอาดขึ้นเอง เช่น ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น
- มาตรฐาน International REC Standard (I-REC) มาตรฐานใหม่ที่มีการยอมรับจากทั่วโลกกว่า 50% ซึ่งประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้เช่นกัน
ประโยชน์ของ REC
- ตัวช่วยในการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality
- ต่อยอดสู่ Net Zero (กรณีของบริษัทเจ้าของโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน)
- ช่วยลด Carbon Emission จากการใช้ไฟฟ้าใน Scope 2 ได้
- สร้างรายได้เพิ่มจากการขาย REC
- ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในการส่งเสริมพลังงานสะอาด