สหภาพยุโรป(EU) เตรียมเก็บภาษีนำเข้าคาร์บอน(CBAM) ภายใน 1 ต.ค. 2023 สิ่งใหม่ที่ทั่วโลกจับตามองเทรนด์การค้ารักษ์โลก กลไกกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการเก็บเพิ่มภาษีสินค้านำเข้าประเทศ EU ที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ โจทย์ใหม่ที่ธุรกิจส่งออกไทยต้องปรับตัว
CBAM คืออะไร
Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM หรือ ภาษีนำเข้าคาร์บอน เป็นมาตรการปรับราคาสินค้านำเข้าบางประเภท ก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU) เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU
เป้าหมายของมาตรการภาษีนำเข้าคาร์บอน (CBAM)
1. เป็นกลไกชดเชยความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตระหว่างบริษัทภายในและภายนอกสหภาพยุโรปให้เท่าเทียมกัน
2. ป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตย้ายออก จากความพยายามเลี่ยงต้นทุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
3. เพื่อสนับสนุนให้ประเทศอื่น ๆ สนใจในนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สินค้านำเข้า EU ที่ต้องปฏิบัติตาม CBAM มีดังต่อไปนี้
- เหล็ก
- อลูมิเนียม
- ซีเมนต์
- กระแสไฟฟ้า
- ปุ๋ย
โดยเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2022 รัฐสภายุโรปได้อนุมัติร่างกฏหมายเพื่อปรับเพิ่มประเภทสินค้าตามมาตรการ CBAM ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมัน, สารเคมีอินทรีพื้นฐาน, ไฮโดรเจน, แอมโมเนีย, โพลีเมอร์ และภายในปี 2030 สหภาพยุโรปต้องการขยายประเภทสินค้าให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น สิ่งที่จะถูกนำมารวมเพิ่มเติมคือ แก้ว, เซรามิค, กระดาษ รวมถึงนำปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Indirect Emission Scope 2) เข้ามาคำนวณภาษีนำเข้าคาร์บอนอีกด้วย ทั้งนี้ยังคงต้องรอติดตามประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
กลไก CBAM เป็นอย่างไร ?
กลไกราคาภาษีนำเข้า CBAM กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าจากนอก EU ต้องซื้อ “ใบรับรอง CBAM” ซึ่งราคาใบรับรองอ้างอิงกับตลาดการค้าคาร์บอนของสหภาพยุโรป (EU Emission Trading System : EU ETS) โดยผู้นำเข้าจะต้องรายงานข้อมูล พร้อมยื่นหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้า (CBAM Certificate) ก่อนที่จะนำสินค้าเข้ามาขายในสหภาพยุโรป
หลักการคำนวณภาษีนำเข้า CBAM
CBAM จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2026 โดยจะต้องมีการรายงานข้อมูลพร้อมยื่นหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียม CBAM Certificates ภายในวันที่ 31 พ.ค. ของทุกปี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย
- ปริมาณสินค้าที่นำเข้าในระหว่างปีที่ผ่านมา
- ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้ามาใน EU ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต เบื้องต้นกำหนดให้คิดเฉพาะปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตสินค้าโดยตรง (Direct Emissions) ซึ่งในอนาคตอาจมีการนำ Indirect Emission เข้ามาคำนวณด้วย
- หลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียมคาร์บอน (CBAM Certificates) ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้า โดยจะคิดค่าธรรมเนียมจากค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์ของราคาในระบบ EU ETS ซึ่งผู้นำเข้าจะได้รับการลดภาระค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมคาร์บอนในประเทศต้นกำเนิดสินค้าแล้ว หรือตามสัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบให้เปล่า (Free Allowances) ที่ EU ได้อนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการภายใน EU
หากไม่มีการยื่นหลักฐาน CBAM Certificates ครบตามจำนวนและภายในเวลาที่กำหนด ผู้นำเข้าสินค้านั้นจะต้องโดนโทษปรับสูงสุดถึง 100 ยูโร ต่อ 1 CBAM Certificate ที่ยังไม่ได้ส่งมอบ และยังคงต้องทำการซื้อและส่งมอบ CBAM Certificate ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดสำหรับการนำเข้าสินค้านั้น
CBAM กับผลกระทบต่อธุรกิจส่งออกไทย
การส่งออกสินค้าที่เข้าข่าย CBAM คิดเป็น 4.3% ของมูลค่าการส่งออกไทยไป EU หรือ 0.35% ของการส่งออกของไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีราคาสูงขึ้นเมื่อขายใน EU และมีความเสี่ยงที่ปริมาณการส่งออกจะปรับลดลง ที่ยังไม่สามารถด่วนสรุปได้ว่าไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันหรือไม่ เนื่องจาก CBAM นั้นบังคับใช้กับทุกประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยัง EU ด้วย
ธุรกิจส่งออกไทยควรเร่งปรับตัวอย่างไร ?
ความท้าทายนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกไทย ที่ส่งออกสินค้าไปยัง EU จะต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม (Carbon Emission Scope 1 & Scope 2) เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้ากับ EU ซึ่งเริ่มจากการประเมิน Carbon Footprint ทั้งกระบวนการผลิตเพื่อง่ายต่อการจัดทำเป็นรายงานประจำปีส่งให้กับหน่วยงานในประเทศไทยและสหภาพยุโรป อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินมาตรการในประเทศอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับ EU เช่น สหรัฐอเมริกา
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ติดต่อ GMS Solar ได้ทันที เรามีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ทั้งในส่วนของการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม (Cabon Emission Scopes) รวมถึงการวางแผนโครงการพัฒนากระบวนการกำจัดก๊าซเรือนกระจกให้เหมาะสมตามเป้าหมายแต่ละบริษัทเพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality, Carbon Net Zero ผ่านบริการต่าง ๆ ดังนี้
- Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
- Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
- Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
- Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
- Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน