ภาวะโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจกคืออะไร มีกี่ชนิด ไขสาเหตุและร่วมหาทางแก้ไข

by gmssolar

การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร เนื่องมาจากมลภาวะในอากาศหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดูดความร้อนเอาไว้ไม่ให้สะท้อนออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ

ซึ่งก๊าซเรือนกระจกมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) มีเทน(CH4) ไนตรัสออกไซด์(N2O) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน(PFCs) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน(HFCs) ก๊าซไนโตรเจนไตร-ฟลูออไรด์(NF3) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์(SF6) เป็นต้น เมื่อก๊าซเหล่านี้ ลอยขึ้นสู่บรรยากาศจะดูดซับความร้อนไว้และถ้ามีปริมาณที่เหมาะสมจะรักษาอุณหภูมิโลกให้พอเหมาะอุ่นสบาย แต่เมื่อใดที่ก๊าซเหล่านี้มีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีการกักเก็บรังสีความร้อนไว้มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น 

ก๊าซเรือนกระจก-7-ชนิด

ก๊าซเหล่านี้เกิดจากปรากฏการณ์หรือกระบวนการทางธรรมชาติและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิง จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากที่สุด และก๊าซที่ควรเฝ้าระวังต่อมาคือ ก๊าซมีเทน ที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ ก๊าซเรือนกระจกนอกจากจะดูดความร้อนไว้ในบรรยากาศโลกแล้ว ยังไปทำลายชั้นโอโซนให้บางลงด้วย ซึ่งในชั้นโอโซนมีหน้าที่ในการกรองรังสีอันตราย คือ รังสียูวี หรือ Ultraviolet

[Ref. TGO ]

กิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 

1. การผลิตพลังงาน

การผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนโดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปริมาณมาก พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงผลิตมาจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกมา ก๊าซทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีอานุภาพในการห่มคลุมโลกและดักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วโลกมีประมาณ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้นที่ผลิตจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ โดยพลังงานเหล่านี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษออกสู่อากาศเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับเชื้อเพลิงฟอสซิล

2. การผลิตสินค้า

กิจกรรมในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อให้ได้พลังงานสำหรับการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก โลหะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก เสื้อผ้าและอื่นๆ การทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเช่นกัน เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตมักใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซ วัสดุบางอย่าง เช่น พลาสติกก็ทำมาจากสารเคมีที่ได้มาจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดทั่วโลก

3. การตัดไม้ทำลายป่า

ในแต่ละปี พื้นที่ป่าประมาณ 75 ล้านไร่ถูกทำลาย การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะต้นไม้ที่ถูกตัดจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มันดูดซับเอาไว้ออกมา การตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นการลดขีดความสามารถของธรรมชาติในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ออกสู่ชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่า การทำเกษตรและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 1 ใน 4

4. การคมนาคมขนส่ง

รถยนต์ รถบรรทุก เรือและเครื่องบินส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การขนส่งจึงกลายเป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยานพาหนะบนท้องถนนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดเพราะเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในต้องอาศัยการเผาไหม้ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน ตามมาด้วยเรือและเครื่องบิน ปริมาณการปล่อยมลพิษของภาคการขนส่ง คิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั่วโลก และการใช้เชื้อเพลิงของภาคการขนส่งก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

5. การผลิตอาหาร

การผลิตอาหารทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ กิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารก็เช่นกัน เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและแผ้วถางที่ดินเพื่อทำการเกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ กระบวนการย่อยอาหารของวัวและแกะ การผลิตและการใช้ปุ๋ยและมูลสัตว์การใช้พลังงานสำหรับเครื่องมือทางการเกษตร และเรือประมงส่วนใหญ่ก็มักใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งหมดนี้ทำให้การผลิตอาหารเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์อาหารและการกระจายสินค้าอาหารก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน

6. การใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือน

อาคารพาณิชย์และอาคารที่พักอาศัยใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั่วโลก ตราบใดที่เรายังคงใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติในการทำความร้อนและความเย็น อาคารบ้านเรือนก็จะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาลต่อไป ความต้องการใช้พลังงานในการทำความร้อนและความเย็นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นมีเครื่องปรับอากาศใช้ การใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นเพื่อแสงสว่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือนที่สูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

7. การบริโภคที่มากเกินไป

บ้านและการใช้พลังงานในบ้าน การเดินทาง สิ่งที่คุณรับประทานและสิ่งที่คุณทิ้ง ทั้งหมดล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับการบริโภคสินค้าต่างๆ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์และพลาสติก การบริโภคภายในครัวเรือนคือแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ของโลก รูปแบบการใช้ชีวิตของเราก็มีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อโลก และประชากรที่ร่ำรวยที่สุดต้องรับผิดชอบมากที่สุด กล่าวคือ ประชากรโลกที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ 1 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 50 ของประชากรโลกที่ยากจนที่สุด

การปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission) ในระดับอุตสาหกรรม

GHG-Protocol-scopes-and-emissions

[Source : Carbon Emission 3 Scopes by EPA]

การปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission) ในระดับอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  • Scope  1 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
  • Scope 2 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ มาใช้ในองค์กร เป็นต้น
  • Scope 3 : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่นๆ เช่น การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

ความรุนแรงของก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิด 

ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ตามที่ถูกควบคุมภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) มีทั้งหมด 7 ชนิด ซึ่งก๊าซแต่ละชนิดมีความสามารถในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนของโมเลกุลแต่ละประเภท โดยค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP) ในช่วงระยะเวลา 100 ปี แสดงตามตาราง AR4* และ AP5**

ก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิด

การประเมินศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ระหว่างปี 2007 กันปี 2014 [ Thailand Energy Academy, Page 8 ]
Remark : * (IPCC Forth Assessment Report)  ** (IPCC Fifth Assessment Report)

ภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามาก ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารให้หมดเพื่อลดก๊าซมีเทนในการย่อยสลายเศษอาหาร, ทางเดียวกันไปด้วยกันเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอนเพิ่มอากาศที่ดี

ในระดับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมควรเข้าร่วมโครงการ Sustainable Development Goals (SDGs) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การกำหนดแนวทางการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆขององค์กร นำไปสู่การจำแนกสาเหตุและหาแนวทางในลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 

GMSsolar บริษัทให้คำปรึกษาและพัฒนาด้านพลังงานสะอาด ยินดีให้คำแนะนำบริการต่างๆที่เหมาะสมกับแต่ละบริษัท ติดต่อได้ที่ www.GMSsolar.com องค์กรให้คำปรึกษา วางแผน และร่วมพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกและการลดคาร์บอนแบบครบวงจร ผ่านบริการต่างๆ ดังนี้

service-gmssolar
  1. Measure Corporate Carbon Footprint ร่วมประเมินการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดของบริษัทคุณ
  2. Measure Product Carbon Footprint วิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในการผลิตกระบวนการต่างๆ
  3. Reduce GHGs แนะนำวิธีในการลดคาร์บอนที่เหมาะสม
  4. Offset Carbon Credit ระบบคาร์บอนเครดิต
  5. Communicate บริการขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอน

You may also like